ระบบประกันสังคมประเทศสิงคโปร์
ระบบประกันสังคมของชาวท้องถิ่น
รัฐบาลกำหนดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Central Provident Fund– CPF) เป็นระบบประกันสังคมที่บริหารจัดการโดย Central Provident Fund Board ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ (Ministry of Manpower) เพื่อให้ชาวท้องถิ่น (หมายถึงผู้มีสัญชาติสิงคโปร์และผู้มีถิ่นพำนักถาวร Singapore Permanent Residents–PR) ที่อยู่ในตลาดแรงงานมีทุนสำรองเลี้ยงชีพและหมดภาระเรื่องที่พักอาศัยหลังเกษียณอายุรวมถึงมีเงินค่ารักษาพยาบาลเมื่อมีอายุมากขึ้น รัฐบาลสิงคโปร์กำหนดให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจ่ายเงินประกันสังคมให้เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับ Central Provident Fund Board เป็นรายเดือน อัตราการจ่ายเงินประกันสังคมของประเทศสิงคโปร์จะขึ้นอยู่กับอายุและรายได้ของลูกจ้าง โดยรัฐบาลให้สมาชิกแต่ละคนนำเงินกองทุนของตนมาจัดสรรเพื่อเป็นรายจ่ายในด้านต่างๆ คือ ค่ารักษาพยาบาล ที่พักอาศัย ทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุ และกรณีทุพพลภาพหรือเสียชีวิต แต่ไม่มีกรณีว่างงาน ส่วนกรณีอื่นๆ สมาชิกสามารถใช้เงิน CPF มาใช้จ่ายเป็นกรณีๆไป โดยทั้งหมดนี้เป็นเงินจากบัญชีของสมาชิกแต่ละคนโดยตรงไม่มีการเอาไปกองรวมกัน เงินประกันสังคมจะถูดจัดให้อยู่ในบัญชี 3 ประเภท
|
Ordinary Account (OA) |
Special Account (SA) |
Medisave Account (MA) |
การใช้เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพ |
ที่พักอาศัย การลงทุน การศึกษา |
สำหรับเกษียณอายุ และการลงทุนที่เกี่ยวข้องหลังเกษียณอายุ |
การับการรักษาที่โรงพยาบาลและค่าเบี้ยประกันสุขภาพ (ที่ได้รับอนุมัติ) |
อายุครบ 55 ปี |
บัญชีที่ 4 จะเกิดขึ้น คือ the Retirement Account (RA) เป็นการรวมจำนวนเงินจาก Ordinary Account (OA) และ Special Account (SA) เป็นจำนวนเงินเพื่อเกียณอายุ (Retirement Sum) |
||
ดอกเบี้ย |
สูงสุดร้อยละ 3.5 สำหรับ OA และ ร้อยละ 5 สำหรับ SA MA และ RA ร้อยละ 4 ต่อปีสำหรับ RA |
ระบบประกันสังคมของประเทศสิงคโปร์แตกต่างกับของไทย ในระบบของไทยมี 2 ส่วน คือ การประกันสังคมกับสำนักงานประกันสังคม กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นแบบสมัครใจ ของสิงคโปร์มีแต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง Central Provident Fund Board- CPF รัฐบาลสิงคโปร์ไม่เห็นด้วยกับระบบประกันสังคมกับสำนักงานประกันสังคมแบบได้มาจ่ายไป (Pay As You Go หรือ PAYG) เพราะเห็นว่าในระบบดังกล่าวเงินของผู้ประกันตนต้องเอามารวมกันโดยที่ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบอาจไม่ได้ใช้เงินเพื่อสิทธิประโยชน์ส่วนของตนและผู้ประกันคนอื่นทุกคนใช้เงินจากกองกลาง ประการต่อมาในกรณีของบำนาญชราภาพ คนที่เกษียณไปต้องใช้เงินจากกองกลางซึ่งต้องพึ่งกระแสเงินเข้าจากเงินสมทบหรือเงินออมของแรงงานที่กำลังทำงานเป็นสำคัญ (แม้ว่าผู้เกษียณจะได้ส่งเงินสมทบในอดีต) และกระแสเงินเข้าอาจไม่พอกับกระแสเงินออกเพราะจำนวนเพราะคนชรามากขึ้น อายุยืนขึ้นและอยู่รับเงินบำนาญนานขึ้น ในขณะที่แรงงานรุ่นใหม่ มีจำนวนน้อยลงทำให้เงินเข้าน้อยลง ลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาเสถียรภาพของกองทุน สิงคโปร์เห็นว่าเป็นการไม่ถูกต้องที่จะเอาเงินจากคนที่ทำงานที่ประกันตนไปจ่ายบำนาญแก่คนที่เกษียณอายุ จึงเลือกใช้ระบบ CPF ที่แรงงานสะสมได้เท่าไรเมื่อเลิกทำงานก็ได้เงินคืนบวกผลประโยชน์จากการลงทุนโดยไม่ต้องห่วงว่าจะเอาไปให้คนอื่น
ระบบประกันสังคมของสิงคโปร์เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็น Defined Contribution กำหนดเงินสมทบที่นายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายเข้ากองทุนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ตามที่รัฐกำหนด โดยรัฐไม่ต้องจ่ายเงินแต่อย่างใด (ยกเว้นดอกเบี้ยประกันขั้นต่ำเท่านั้น ประมาณร้อยละ 2.5-5 แล้วแต่บัญชี) แต่ทำหน้าที่เป็นผู้คุมกฎและบริหารกองทุนให้เกิดสิทธิประโยชน์ตามเป้าหมาย
ตารางที่ 1 : อัตราการจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างในสถานประกอบการเอกชนหรือลูกจ้างของรัฐที่ไม่มีบำนาญโดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 (ลูกจ้างต้องมีรายได้มากกว่า 750 เหรียญสิงคโปร์)
อายุลูกจ้าง |
เงินสมทบส่วนนายจ้าง ( % เงินเดือน) |
เงินสมทบส่วนลูกจ้าง ( % เงินเดือน) |
รวม ( % เงินเดือน)
|
การเข้าบัญชี |
||
OA |
SA |
MA |
||||
ต่ำกว่า 35 |
17 |
20 |
37 |
23 |
6 |
8 |
35-45 |
17 |
20 |
37 |
21 |
7 |
9 |
45-50 |
17 |
20 |
37 |
19 |
8 |
10 |
50-55 |
17 |
20 |
37 |
15 |
11.5 |
10.5 |
55-60 |
13 |
13 |
26 |
12 |
3.5 |
10.5 |
60-65 |
9 |
7.5 |
16.5 |
3.5 |
2.5 |
10.5 |
65 ปี ขึ้นไป |
7.5 |
5 |
12.5 |
1 |
1 |
10.5 |
โครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Central Provident Fund- CPF) ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. เกษียนอายุ
1. The CPF Lifelong Income For The Elderly (CPF LIFE) เป็นโครงการให้ชาวท้องถิ่นที่เป็นสมาชิก CPF LIFE มีรายได้ทุกเดือนตลอดชีวิตเมื่อสมาชิกมีอายุครบ 65 ปี
ตารางที่ 2 : คุณสมบัติของชาวท้องถิ่นที่จะเป็นสมาชิก CPF LIFE
อายุ 55 ปี ระหว่าง 1 มกราคม 2556 ถึง 30 เมษายน 2559 |
อายุ 55 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 เป็นต้นไป |
– 40,000 เหรียญสิงคโปร์ ใน RA เมื่ออายุ 55 ปี – 60,000 เหรียญสิงคโปร์ ใน RA เมื่ออายุ 65 ปี |
60,000 เหรียญสิงคโปร์ ใน RA เมื่อมีอายุใกล้ 65 ปี |
สมาชิกสามารถเลือกที่จะเริ่มรับเงินรายเดือนระหว่างอายุ 65 ถึง 70 ปี โดยแบ่ง CPF LIFE PLAN ออกเป็น 2 ประเภท โดยใช้การจ่ายเงินรายเดือนและเงินมรดกแบ่งความแตกต่างการจ่าย ซึ่งเงินรายเดือนขึ้นอยู่กับจำนวนเงินใน Retirement Account (RA)
– LIFE Standard Plan การจ่ายเงินรายเดือนที่สูง / เงินมรดกต่ำ
– LIFE Basic Plan การจ่ายเงินรายเดือนที่ต่ำ / เงินมรดกสูง
2. Retirement Sum Scheme เป็นเงินกองทุนสำหรับสมาชิกไว้ใช้หลังเกษียณอายุ โดยสมาชิกจะได้รับเงินรายเดือนสำหรับการเลี้ยงชีพขั้นพื้นฐานหลังเกษียณอายุประมาณ 20 ปี ต่อมาในปี 2552 CPF LIFE ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับสมาชิกมากขึ้น คือเมื่อสมาชิกมีอายุครบ 55 ปี CPF จะสร้างบัญชีเรียกว่า Retirement Account (RA) โดยโอนเงินจากบัญชี OA และ SA เพื่อเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุ ส่วน Medisave Account (MA) ยังคงไว้เพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาลในอนาคต
ตารางที่ 3 : จำนวนเงินสะสมเพื่อเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุสำหรับสมาชิกสมาชิกที่มีอายุครบ 55 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 เป็นต้นไป
อายุ 55 ปีขึ้นไป |
จำนวนเงินสะสมเพื่อเกษียณอายุ (เหรียญสิงคโปร์) |
1 กรกฎาคม 2546 |
80,000 |
1 กรกฎาคม 2547 |
84,500 |
1 กรกฎาคม 2548 |
90,000 |
1 กรกฎาคม 2549 |
94,600 |
1 กรกฎาคม 2550 |
99,600 |
1 กรกฎาคม 2551 |
106,000 |
1 กรกฎาคม 2552 |
117,000 |
1 กรกฎาคม 2553 |
123,000 |
1 กรกฎาคม 2554 |
131,000 |
1 กรกฎาคม 2555 |
139,000 |
1 กรกฎาคม 2556 |
148,000 |
1 กรกฎาคม 2557 |
155,000 |
1 กรกฎาคม 2558 |
161,000 |
สมาชิกจะถูกจัดเข้าโครงการ The CPF Lifelong Income for the Elderly (CPF LIFE) หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามตารางที่ 2 สมาชิกจะได้รับเงินรายเดือนตลอดชีวิตตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป โดยจำนวนเงินรายเดือนจะขึ้นอยู่กับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุ สมาชิกสามารถเลือกระดับจำนวนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ Basic Retirement Sum หรือ Full Retirement Sum หรือ Enhanced Retirement
ตารางที่ 4 : จำนวนเงินรายเดือนที่เริ่มจ่ายตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป
ทางเลือก |
จำนวนเงินโดยประมาณที่จ่ายรายเดือน (เหรียญสิงคโปร์) |
จำนวนเงินที่กำหนดอย่างต่ำใน Retirement Account (RA) เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ (เหรียญสิงคโปร์) |
เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์และถอนเงินส่วนเกินออกจาก Basic Retirement Sum (ขึ้นอยู่กับมูลค่าของที่พักอาศัยที่ใช้วางประกันกับ CPF) |
660-720 |
Basic Retirement Sum (BRS) – 80,500 |
ไม่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือ เลือกที่จะไม่ถอนเงินส่วนเกินออกจาก Basic Retirement |
1,220-1,320 |
Full Retirement Sum (FRS) – 161,000 |
เพิ่มจำนวนเงินฝากใน CPF LIFE |
1,770-1,920 |
Enhanced Retirement Sum (ERS) – 241,500 |
หมายเหตุ : Basic Retirement Sum (BRS) จะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
จำนวนเงินใน Basic Retirement Sum (BRS)
อายุครบ 55 ปี ในปี 2559 80,500 เหรียญสิงคโปร์
อายุครบ 55 ปี ในปี 2560 83,000 เหรียญสิงคโปร์
อายุครบ 55 ปี ในปี 2561 85,500 เหรียญสิงคโปร์
อายุครบ 55 ปี ในปี 2562 88,000 เหรียญสิงคโปร์
อายุครบ 55 ปี ในปี 2563 90,500 เหรียญสิงคโปร์
เมื่อสมาชิกมีอายุครบ 55 ปี สมาชิกสามารถถอนเงินกองทุน CPF ได้จำนวนตั้งแต่ 5,000 เหรียญสิงคโปร์ขึ้นไป หรือเงินส่วนเกินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุประเภท Full Retirement Sum (161,000 เหรียญสิงคโปร์) แต่ต้องมีจำนวนเงินที่เพียงพอสำหรับที่พักอาศัยที่วางประกันไว้กับ CPF
2) ที่พักอาศัย
สมาชิกสามารถใช้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากบัญชี OA ซื้อที่พักอาศัยของรัฐ (Public Housing Scheme) และเอกชน ( Private Properties Scheme) โดยอาจจ่ายเป็นรายเดือนหรือจ่ายเป็นก้อนตามราคาจริง รวมถึงเป็นค่าอากรสแตมป์ ค่าธรรมเนียมตามกฏหมายและอื่นๆ สำหรับสมาชิกที่ใช้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงจ่ายค่าที่พักอาศัยของรัฐเป็นรายเดือนจะต้องมีประกันภายใต้ Home Protection Scheme –HPS ซึ่งเป็นการคุ้มครองสมาชิกและครอบครัวให้สามารถเป็นเจ้าของที่พักอาศัยได้อีกต่อไปถึงแม้สมาชิกจะเสียชีวิต เจ็บป่วย หรือทพพลภาพ HPSรับประกันให้กับสมาชิกจนอายุครบ 65 ปีหรือจ่ายค่าที่พักอาศัยจบสิ้นแล้ว แต่ HPS จะไม่ครอบคลุมที่พักอาศัยของเอกชน ( Private Properties Scheme)
3) สาธารณะสุข
1. Medisave เป็นระบบการสะสมกองทุนเพื่อสุขภาพ โดยเก็บเงินรายได้ส่วนหนึ่งของสมาชิกเข้าบัญชี Medisave Account เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเรื่องสุขภาพของสมาชิกและครอบครัวในอนาคตกรณีที่ต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ผ่าตัดย่อย และเป็นผู้ป่วยนอกบางกรณี (ดูรายละเอียดอัตราการจัดสรรเงินตามตารางที่ 1)
– เงื่อนไขการใช้ Medisave
ก) ต้องเป็นสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่ได้รับอนุมัติ
ข) ผู้ที่สามารถใช้ Medisave คือ สมาชิก และครอบครัว (หมายถึง คู่สมรส บุตร บิดามารดา ปู่ย่าตายาย) ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติสิงคโปร์ ยกเว้น ปู่ย่าตายายต้องเป็นชาวสิงคโปร์หรือผู้มีถิ่นพำนักถาวร (Singapore Permanent Residents-PR)
2. Medishield Life คือการประกันสุขภาพที่บริหารจัดการโดย Central Provident Fund Board (CPF) เป็นการประกันสุขภาพตลอดชีวิตให้ชาวท้องถิ่นรวมถึงผู้ที่มีปัญหาสุขภาพขั้นร้ายแรงอยู่ก่อนแล้วโดยอัตโนมัต (ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพขั้นร้ายแรงอยู่ก่อนจะต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เป็นระยะเวลา 10 ปี) Medishield Life ช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลรวมถึงการรักษาของผู้ป่วยนอก เช่น การฟอกไต และการทำเคมีบำบัดสำหรับผู้เป็นโรคมะเร็ง โดยให้การคุ้มครองกับผู้เอาประกันที่รับการรักษาจากโรงพยาบาลของรัฐและกำหนดระดับห้องพักผู้ป่วย หากผู้เอาประกันอยู่เกินกำหนดก็จะต้องใช้เงินสดหรือ Medisave จ่ายส่วนเกิน รัฐให้การสนับสนุนการเพื่อให้สมาชิกมีความสามารถจ่ายเบี้ยประกันได้โดยให้ความช่วยเหลือ
ก) Premium Subsidies สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำจนถึงระดับปานกลาง
ข) Pioneer Generation Subsidies สำหรับชาวสิงคโปร์รุ่นแรกๆ (Pioneer)
ค) Transition Premium Support แบ่งเบาภาระสำหรับชาวสิงคโปร์ที่เปลี่ยนเข้าสู่ระบMedishield Life
ง) Additional Premium Support สำหรับผู้ที่ไม่สามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันได้หลังจากรัฐให้การสนับสนุนแล้ว
3. Private Medical Insurance Scheme (PMIS) สมาชิก CPF สามารถใช้ Medisave จ่ายเบี้ยประกัน Intergrated Shield Plan (IPS) สำหรับตัวสมาชิก บิดามารดา คู่สมรสและ ปู่ย่าตายาย
Intergrated Shield Plan (IPS) ประกอบด้วย Medishield Life และ การเพิ่มเติมการประกันจากบริษัทประกันเอกชน
4. ElderShield เป็นโครงการการประกันรายได้สำหรับคนพิการรุนแรง (หมายถึงบุคคลที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 3 อย่าง เช่น ความสามารถในการเข้า-ออก ห้องน้ำ/ชำระล้างตัวเอง สวมใส่เสื้อผ้า และ การป้อนอาหาร เป็นต้น) โดยให้ความช่วยเหลือด้านการเงินขั้นพื้นฐานกับผู้ที่ต้องการการดูแลระยะยาว โดยการจ่ายเงินสดรายเดือนๆละ 400 เหรียญสิงคโปร์เป็นระยะเวลาสูงสุด 72 เดือน ( ElderShield 400) สมาชิก CPF ที่มีบัญชี MA เมื่ออายุครบ 40 ปี ก็จะอยู่ภายใต้ ElderShield โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนหรือตรวจสุขภาพ กระทรวงสาธารณะสุขจะแต่งตั้งบริษัทประกันในการบริหารจัดการ การจ่ายเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอายุที่เข้าโครงการและเบี้ยประกันจะไม่เพิ่มตามอายุ สมาชิกสามารถใช้ Medisave จ่ายเบี้ยประกันได้แต่หากไม่มี Medisave ก็ใช้ของ คู่สมรส บุตร บิดามารดาได้
4) การลงทุน
CPF Investment Scheme เป็นการให้โอกาสสมาชิก CPF ใช้บัญชีจาก OA และ SA ลงทุนเพื่อสร้างผลกำไรไว้ใช้เมื่อเกษียณอายุแต่จะต้องกันเงินจำนวน 20,000 เหรียญสิงคโปร์ไว้ในบัญชี OA และ 40,000 เหรียญสิงคโปร์ไว้ในบัญชี SA โดย CPF จะกำหนดให้สมาชิกเลือกแผนการลงทุน แต่หากสมาชิกไม่มีความมั่นใจในการลงทุนก็คงเงินไว้ในบัญชีและรับดอกเบี้ยจาก CPF ตามอัตราสูงสุดร้อยละ 3.5 ใน OA สูงสุดร้อยละ 5 ใน SA และ Medisave (อัตราดอกเบี้ยระหว่าง เมษายน 2559 -30 มิถุนายน 2559 และจะมีการปรับทุกๆ 3 เดือน) ส่วน Retirement Account สูงสุดร้อยละ 5 Medisave (อัตราดอกเบี้ยระหว่าง 1 มกราคม 2559 – 31 ธันวาคม 2559 และจะมีการปรับทุกๆปี)
The Special Discounted Shares (SDS) คือการให้โอกาสชาวสิงคโปร์มีความเป็นส่วนร่วมในสังคมโดยให้ถือหุ้นในราคาพิเศษของบริษัท Singpore Telecom ในราคาส่วนลดเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลและกำไรจากการขายหุ้น แต่เงินปันผลและกำไรดังกล่าวจะไปอยู่ในบัญชี CPF ของสมาชิกจึงไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้เพราะขัดต่อวัตถุประสงค์ของ CPF ที่ต้องการให้สมาชิกออมเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ
5) อื่นๆ
1. CPF Nomination Scheme สมาชิกแจ้ง CPF รายชื่อผู้รับประโยขน์ และจำนวนเงินที่แต่ละคนจะได้รับหลังจากที่สมาชิกเสียชีวิต โดยครอบคลุม OA SA Medisave และ Retirement Account แต่ไม่รวมถึงที่พักอาศัยที่ใช้ CPF จ่ายรายเดือนและการลงทุน
2. นอกจากการถอนเงิน CPF ออกมาเมื่ออายุครบ 55 ปีแล้ว สมาชิกยังขออนุญาตถอนเงินออกมาได้ในกรณี
– สมาชิกเสียชีวิต เงินฝาก CPF จะถูกแบ่งตามสัดส่วนให้กับผู้รับประโยชน์ตามที่มีชื่อระบุไว้ หากไม่มีการระบุเงินฝาก CPF จะถูกส่งต่อไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อการจัดจำหน่ายตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์
– ปัญหาสุขภาพ
– ย้านถิ่นฐานออกจากประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซียแถบตะวันตกเป็นการถาวร
– ชาวมาเลเซียที่มีที่พักอาศัยที่ประเทศมาเลเซียแถบตะวันตกขอถอนเงินฝาก CPF
3. CPF Education Scheme เป็นโครงการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาโดยใช้บัญชี OA สำหรับตัวสมาชิก คู่สมรส และบุตรได้ร้อยละ 40 ของจำนวนเงินใน OA ซึ่งจะอนุมัติให้สำหรับการเรียนระดับอนุปริญา และปริญญาตรีที่ได้รับอนุมัติ (Approved Educational Institution-AEI เต็มจำนวนค่าเล่าเรียน หลังจบการศึกษา1 ปีจะต้องจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนเข้าบัญชี OA
4. Dependants’s Protection Scheme (DPS) เป็นโครงการประกันชีวิตเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงและกรณีทุพพลภาพ ซึ่งเป็นการให้ประกันโดยอัตโนมัติสำหรับสมาชิกในวงเงินประกัน 46,000 เหรียญสิงคโปร์ จนถึงอายุ 60 ปี โดยเงินประกันจะจ่ายให้กับสมาชิกและครอบครัว เบี้ยประกันจ่ายโดยเงินสะสมในบัญชี OA หรือ SA ซึ่งค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอายุ เช่น อายุ 34 ปี หรือน้อยกว่าจะจ่ายเบี้นประกันที่ 36 เหรียญสิงคโปร์ต่อปี อายุ 55-59 ปี จ่าย 260 เหรียญสิงคโปร์ต่อปี เป็นต้น DPS บริหารจัดการโดยบริษัทประกัน Great Eastern Life และ NTUC Income
ระบบประกันสุขภาพของชาวต่างชาติ
ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศสิงคโปร์ไม่ได้เข้าระบบประกันสังคมเหมือนชาวท้องถิ่น กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ (Ministry of Manpower) จะบังคับให้นายจ้างดูแลลูกจ้างในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลโดยให้นายจ้างซื้อประกันกับบริษัทเอกชน 2 ประเภท
1. ประกันสุขภาพ (Medical Insurance) นายจ้างจะต้องมีประกันสุขภาพสำหรับลูกจ้างประเภท Work Permit และ S-Pass ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 15,000 เหรียญสิงคโปร์กรณีเป็นผู้ป่วยในและการผ่าตัดย่อยที่ไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลซึ่งรวมถึงการรักษาตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
2. ประกันกรณีบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงาน (Work Injury Compensation Insurance) ภายใต้พระราชบัญญัติ Work Injury Compensation Act (WICA) นายจ้างจะต้องซื้อประกันให้กับลูกจ้างที่ใช้แรงงานและลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 1,600 เหรียญสิงคโปร์ ทั้งลูกจ้างท้องถิ่นและลูกจ้างชาวต่างชาติ หากการประกันต่ำกว่าที่กฏหมายระบุจะมีโทษปรับสูงสุด 10,000 เหรียญสิงคโปร์หรือจำสูงสุด 12 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับพนักงานอื่น ๆ นายจ้างมีความยืดหยุ่นในการตัดสินใจว่าจะซื้อประกันหรือไม่ แต่หากพนักงานเหล่านี้มีคุณสมบัติตามกำหนดที่สามารถเรียกร้องค่าทดแทนได้ นายจ้างต้องเป็นผู้จ่ายค่าทดแทนให้โดยไม่คำนึงถึงเรื่องการประกันตน
Work Injury Compensation Act (WICA) เป็นกฏหมายที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างที่ได้รับอุบัติเหตุหรือเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานโดยไม่ต้องพึ่งกฏหมายแพ่ง
2.1 การคุ้มครอง ลูกจ้างทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาวท้องถิ่นหรือชาวต่างชาติที่อยู่ภายใต้สัญญาจ้างหรือเป็นสัญญาการฝึกงาน โดยไม่คำนึงถึงรายได้
คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
ลูกจ้างทุกคนที่ 1) ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน 2) ได้รับบาดเจ็บขณะทำงานที่ได้รับมอบหมายในต่างประเทศ 3) เป็นโรคที่เกิดจากการทำงาน (กำหนดในพระราชบัญญัติ Work Injury Compensation Act) 4) เจ็บป่วยโดยมีสาเหตุมาจากการสัมผัสหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมสุ่มเสี่ยงที่มาจากสารเคมี |
ผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว |
ผู้รับเหมาอิสระ |
|
ผู้ประกอบอาชีพรับใช้ในบ้าน |
|
พนักงานในเครื่องแบบ (ทหารในกองทัพสิงคโปร์ ตำรวจ องค์กรป้องกันฝ่ายพลเรือน กรมราชทัณฑ์ และหน่วยปราบปรามยาเสพติดแห่งประเทศสิงคโปร์ |
2.2 สิทธิในการรับค่าทดแทนมี 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
– ค่ารักษาพยาบาล ( Medical Expenses) เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นทั้งหมด เช่น ค่าปรึกษาแพทย์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พักรักษาในโรงพยาบาล ค่ายา เป็นต้น ทั้งนี้รวมถึงการ
รักษาพยาบาลที่จะช่วยให้ลูกจ้างกลับไปทำงานได้เร็วขึ้นอย่างเช่น การจัดการดูแลผู้ป่วย (Case Management) การประเมินสมรรถภาพ ( Functional Capacity) และ การประเมินสถานที่ทำงาน (Worksite Assessment) นายจ้างจะต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลให้ลูกจ้างที่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในวงเงินสูงสุด 36,000 เหรียญสิงคโปร์ ภายในเวลา 1 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ หากค่ารักษาพยาบาลเกินจำนวนวงเงินดังกล่าวลูกจ้างอาจฟ้องร้องโดยใช้กฏหมายแพ่งได้
– ค่าจ้างระหว่างลาป่วย (Medical Leave Wages) ค่าจ้างจะจ่ายเฉพาะวันทำงานที่แพทย์ออกใบอนุญาตให้ลาพักรักษาตัว (MC/hospitalization leave) เท่านั้น ไม่รวมวันที่ไม่ทำงาน เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ หรือ วันหยุดราชการ เป็นต้น โดยมีข้อกำหนดดังนี้
ค่าจ้างระหว่างลาป่วย |
กรณีผู้ป่วยนอก Medical Leave |
ผู้ป่วยใน Hospitalisation Leave |
จ่ายเต็มตามค่าจ้างเฉลี่ยรายเดือน |
สูงสุด 14 วัน |
สูงสุด 60 วัน |
จ่าย 2/3 ของค่าจ้างเฉลี่ยรายเดือน |
วันที่ 15 เป็นต้นไป จนถึง 1 ปี โดยนับตั้งแต่วันเกิดอุบัติเหตุ |
วันที่ 61 เป็นต้นไป จนถึง 1 ปี โดยนับตั้งแต่วันเกิดอุบัติเหตุ |
– เงินค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต (Lum sum compensation incapacity or death ) ลูกจ้างหรือครอบครัวสามารถเรียกร้องค่าทดแทนได้หากลูกจ้างทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต
กรณีทุพพลภาพถาวร
|
ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพถาวร |
จ่ายเมื่อ |
การเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานอย่างถาวร |
การคำนวณเงินค่าทดแทน |
จำนวนเงินค่าทดแทน = รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน (Average Monthly Earning) x ปัจจัยของอายุ (age multiplying factor) x % การสูญเสียสมรถภาพ (permanent incapacity–PI) |
ผู้ที่จะได้รับค่าทดแทน |
ลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บ |
การเปลี่ยนแปลงวงเงินค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ
|
อุบัติเหตุเกิดก่อน 1 มกราคม 2559 |
อุบัติเหตุเกิดขึ้นตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 |
ค่าทดแทนจำนวนเงินต่ำสุด |
$ 73,000X % การสูญเสียสมรถภาพ (permanent incapacity-PI) |
$88,000 % การสูญเสียสมรถภาพ (permanent incapacity-PI) |
ค่าทดแทนจำนวนเงินสูงสุด |
$ 218,000X % การสูญเสียสมรถภาพ (permanent incapacity-PI) |
$ 262,000X % การสูญเสียสมรถภาพ (permanent incapacity-PI) |
กรณีเสียชีวิต
|
ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิต |
จ่ายเมื่อ |
การบาดเจ็บทำให้เสียชีวิต |
การคำนวณเงินค่าทดแทน |
จำนวนเงินค่าทดแทน = รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน (Average Monthly Earning) x ปัจจัยของอายุ (age multiplying factor) |
ผู้ที่จะได้รับค่าทดแทน |
ครอบครัวหรือผู้ที่อยู่ในอุปการะของผู้เสียชีวิต (Dependant of deceased employee) |
การเปลี่ยนแปลงวงเงินค่าทดแทนกรณีเสียชีวิต
|
อุบัติเหตุเกิดก่อน 1 มกราคม 2559 |
อุบัติเหตุเกิดขึ้นตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 |
ค่าทดแทนจำนวนเงินต่ำสุด |
57,000 |
$69,000 |
ค่าทดแทนจำนวนเงินสูงสุด |
$ 170,000 |
$ 204,000 |
2.3 ลูกจ้างที่ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานสามารถใช้กฏหมาย Work Injury Compensation Act (WICA) หรือ กฏหมายแพ่ง ในการเรียกร้องค่าทดแทน ซึ่งทั้ง 2 มีความแตกต่างดังนี้
กฏหมายค่าทดแทนกรณีบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน (WICA) |
กฏหมายแพ่ง
|
1.ไม่ต้องพิสูจน์ว่านายจ้างมีความผิด แค่แสดงให้เห็นว่าการบาดเจ็บเกิดจากการทำงานเท่านั้น |
1.จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่านายจ้าง หรือบุคคลที่สามเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ |
2. ค่าทดแทนคำนวณตามสูตรที่กำหนด และมีวงเงินจำกัด |
2. ไม่จำกัดวงเงินค่าทดแทน แต่ต้องพิสูจน์ความเสียหายในชั้นศาล |
3. ไม่จำเป็นต้องใช้ทนาย เจ้าหน้าที่ MOM สามารถให้คำแนะนำและยื่นคำร้องโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และหากมีข้อขัดแย้ง เจ้าหน้าที่ MOM ก็จะช่วยประสานเพื่อยุติข้อขัดแย้งนั้น |
3. จะต้องใช้ทนาย และลูกจ้างจะต้องจ่ายค่าดำเนินการของทนาย |
– กำหนดเวลาสำหรับการเพิกถอนข้อเรียกร้อง : ลูกจ้างมีเวลา 1 ปี นับจากวันเกิดอุบัติเหตุว่าจะเรียกร้องค่าทดแทนภายใต้ Work Injury Compensation Act (WICA) หรือ กฏหมายแพ่ง
– การถอนข้อเรียกร้องจากคดีแพ่งเป็น Work Injury Compensation Act (WICA) : หากลูกจ้างประสงค์ที่จะเพิกถอนการฟ้องร้องจากคดีแพ่งเป็น WICA ลูกจ้างต้องทำให้การเรียกร้องภายในระยะเวลา 1 ปีนับจากวันเกิดอุบัติเหตุหรือวันตรวจพบโรค
– การถอนข้อเรียกร้องจาก Work Injury Compensation Act (WICA) เป็นคดีแพ่ง: หากลูกจ้างประสงค์ที่จะเพิกถอนการฟ้องร้องจาก WICA ลูกจ้างสามารถทำได้ตลอดเวลาก่อนที่กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ (MOM) จะออกหนังสือประเมินผล (Notice of Assessment- NOA) แต่หากมีการส่งหนังสือแจ้งผลการประเมินออกไปแล้วลูกจ้างจะถอนข้อเรียกร้องได้
1) ภายใน 14 วันนับจากวันที่ระบุวันแจ้ง (date of service) ใน NOA (กรณีไม่มีข้อพิพาท)
2) ภายใน 28 วันนับจากวันที่ระบุวันแจ้ง (date of service) ใน NOA (กรณีมีข้อพิพาท)
หมายเหตุ: หากทุกฝ่ายยอมรับ NOA นายจ้างหรือผู้ประกัน (หากมี) จะต้องชำระเงินภายใน 21 วันนับจากวันที่ระบุวันแจ้ง (date of service) ใน NOA ซึ่งจะถือว่าเป็นการสิ้นสุดข้อร้องเรียนและจะไม่สามารถเรียกร้องภายใต้กฎหมายแพ่งได้อีก
—————————————————————
จัดทำโดย สนร. สิงคโปร์