กฏหมายแรงงานของประเทศ
ผู้ต้องการทำงานในสิงคโปร์ควรศึกษาหรือมี ความรู้เบื้องต้นในระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ
1. กฎหมายจ้างงาน (Employment Act) : คุ้มครองลูกจ้างทั้งท้องถิ่นและ ชาวต่างชาติ ยกเว้นลูกจ้างระดับบริหาร(managerial, executive) ผู้ได้รับการว่าจ้างโดยไม่เปิดเผย (confidential employees) คนรับใช้ (domestic workers) ลูกเรือ (seamen) และข้าราชการ ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายฉบับนี้ต้องยึดสัญญาจ้างงานเป็นหลัก ซึ่งสัญญาจ้าง ต้องครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้เป็นพื้นฐาน ชั่วโมงทำงาน ค่าจ้าง โบนัส ค่าตอบแทน การทำงาน ล่วงเวลา วันหยุด วันลา การสิ้นสุดสัญญา ผลตอบแทนเมื่อเลิกจ้าง เกษียณ ลาคลอด ลาดูแลบุตร
2. กฎหมายจ้างงานสำหรับงานไม่เต็มเวลา (Employment (Part-Time Employees) Regulations) : คุ้มครองลูกจ้างไม่เต็มเวลา (ชั่วโมงทำงานน้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์) ซึ่งในสัญญาจ้างต้องระบุชัดเจนในประเด็นต่อไปนี้ ค่าจ้างรายชั่วโมง (ไม่รวมค่าตอบแทน) ค่าจ้างรวม (รวมค่าตอบแทน ค่าล่วงเวลา โบนัส และอื่นๆ) จำนวนชั่วโมงทำงานต่อ 1 วันหรือ สัปดาห์ จำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์หรือเดือน
3. กฎหมายภาษี (Taxation) ชาวต่างชาติที่ทำงานในสิงคโปร์ทุกคนต้องยื่น เสียภาษีเงินได้ ซึ่งจะคำนวณอัตราตามกฎหมายคือ
3.1 ผู้ทำงานหรืออยู่ในสิงคโปร์เกิน 183 วันตามปีภาษี โดยภายหลัง หักค่าลดหย่อนแล้วต้องนำรายได้มาคำนวณอัตราภาษีตามตาราง อัตราของผู้พำนักอาศัย (resident rate) ซึ่งอยู่ระหว่าง 0 – 22 เปอร์เซนต์
3.2 ผู้ทำงานหรืออยู่ในสิงคโปร์ต่ำกว่า 183 วันตามปีภาษี จะได้รับ ยกเว้นภาษีหากทำงานไม่เกิน 60 วัน (บางอาชีพไม่ได้รับยกเว้น เช่น นักแสดง) แต่หากทำงานเกิน 60 วันแต่น้อยกว่า 183 วัน เสีย ภาษี 15 เปอร์เซนต์โดยไม่มีการหักลดหย่อน การคำนวณภาษีของ กลุ่มนี้ใช้อัตราของผู้พำนักอาศัยชั่วคราว (non-resident rate)
หมายเหตุ : หารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.iras.gov.sg (กรมสรรพากรสิงคโปร์) ทั้งนี้ ท่าน ที่ไปทำงานสิงคโปร์ สามารถติดต่อสำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์เพื่อปรึกษาการคำนวณภาษี และการขอคืนภาษีที่นายจ้างหักไว้ระหว่างการจ้าง
4. กฎหมายเงินทดแทน (Workmen’s Compensation Act) คุ้มครอง ลูกจ้างระดับใช้แรงงาน (manual labour) โดยไม่จำกัดรายได้ และลูกจ้างที่ทำงานทั่วไป (non-manual labour) ที่มีรายได้ไม่เกิน 1,600 เหรียญสิงคโปร์ต่อเดือน ทั้งนี้ กฎหมายนี้ไม่คุ้มครอง ผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว ผู้รับเหมาอิสระ อาชีพรับใช้ในบ้าน ตำรวจหรืออาชีพคล้ายตำรวจ ซึ่ง ขอบเขตการคุ้มครองคือค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงาน ค่าจ้างระหว่างลาป่วย ตามคำสั่งแพทย์ ค่าทดแทนกรณีพิการหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในงาน
หมายเหตุ : หารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.mom.gov.sg (กระทรวงแรงงานสิงคโปร์) ทั้งนี้ ท่านที่ไปทำงานสิงคโปร์ กรุณาปรึกษาสำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือ เจ็บป่วยระหว่างการทำงานเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองเต็มสิทธิ์ภายใต้กฎหมายนี้
5. กฎหมายเข้าเมือง (Immigration Act) สิงคโปร์เข้มงวดเรื่องการเข้า เมืองโดยผิดกฎหมายหรือการอยู่ในสิงคโปร์เกินกำหนด หากถูกจับ ผู้กระทำผิดจะต้องถูกจำคุกนาน 6 เดือน ถูกเฆี่ยนและถูกปรับแล้วแต่การพิจารณาของกองตรวจคนเข้าเมือง (Immigration and Checkpoints Authority) ผู้หางานไทยควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้รับใบอนุญาตทำงาน (ประเภท ใบอนุญาตทำงานตามรายละเอียดข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว) จากกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ก่อน เดินทางเข้าสิงคโปร์ หรือแรงงานไทยที่สัญญาจ้างงานใกล้หมดอายุและไม่มั่นใจว่านายจ้างต่ออายุ ใบอนุญาตทำงานให้หรือไม่ ควรปรึกษาสำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์เพื่อช่วยตรวจสอบ มิฉะนั้นจะเข้าข่ายการอยู่ในสิงคโปร์เกินกำหนด
6. กฎหมายทั่วไป ผู้เข้าทำงานในสิงคโปร์ต้องทราบและปฏิบัติตาม กฎหมายของสิงคโปร์อย่างเคร่งครัดเพราะบทลงโทษแต่ละความผิดมีตั้งแต่จับปรับ จำคุก เฆี่ยน จน ถึงประหารชีวิต ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์มีบทลงโทษนายจ้างที่ทารุณข่มเหงคนงานต่างชาติทั้ง จำคุก ปรับ และเฆี่ยนเช่นกัน ดังนั้น หากแรงงานไทยไม่ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องจากนายจ้าง สามารถเข้าร้องเรียนกับสำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์เพื่อให้ช่วยเหลือ
7. ข้อควรปฏิบัติแนบท้ายใบอนุญาตทำงาน ผู้เข้าทำงานในสิงคโปร์และ ถือ ใบอนุญาตทำงานประเภท Work Permit (WP) ควรศึกษาข้อปฏิบัติที่แนบท้ายใบอนุญาต ทำงาน อันได้แก่ ห้ามทำงานกับนายจ้างคนอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในใบอนุญาต ห้ามมีความ สัมพันธ์ด้านชู้สาวหรือมีบุตรกับชาวสิงคโปร์หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่สิงคโปร์แบบถาวร (Permanent Resident : PR) หากเป็นหญิงห้ามตั้งครรภ์หรือให้กำเนิดบุตรระหว่างถือใบอนุญาต ทำงาน ต้องพกใบอนุญาตทำงานตัวจริงกับตัวเพื่อพร้อมให้ตรวจสอบ และอื่นๆ
19194