การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคคลากรให้ทันกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโดยมีนโยบายและโครงการสำคัญต่างๆ เช่น
- Continuing Education and Training (CET) Masterplanที่ริเริ่มเมื่อปี 2551 ที่ดำเนินการโดย Singapore Workforce Development Agency (WDA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมกำลังพลชาวสิงคโปร์สำหรับอนาคต โดย CTE ได้มีการปรับปรุงล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 ตามข้อเสนอของลูกจ้าง นายจ้าง และสหภาพ ในรูปแบบ CTE 2020 (2563) โดยให้ชาวสิงคโปร์มีความพร้อมสามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบมาจากนวัตกรรมและผลิตภาพการผลิตโดยเน้นความร่วมมือกันระหว่างนายจ้าง สมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ สหภาพ และ ศูนย์ฝึกอบรม เพื่อริเริ่มแผนการต่างๆที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จ
Continuing Education and Training (CET) Masterplan เป็นการพัฒนาโดยรวมคือระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูง การฝึกอบรมที่ตอบสนองความต้องการอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมต่างๆและการส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย CET2020 (2563) มีจุดประสงค์ 3 ประการ
1. การสร้างความเชี่ยวชาญในเชิงลึกให้กับกำลังแรงงานสิงคโปร์โดยให้นายจ้างมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคคลากรและการเห็นคุณค่าของลูกจ้าง |
– กลยุทธการจัดการบริหารกำลังพลแต่ละภาคธุรกิจ – โครงสร้างการสร้างสมรถนะแต่ละภาคธุรกิจ – One-stop การฝึกอบรมให้คำแนะนำและสนับสนุนด้านกำลังแรงงาน |
2. ให้ทุกคนสามารถรับทราบข้อมูลการศึกษาและอาชีพผ่านระบบการศึกษา การฝึกอบรมและแนะแนวอาชีพ |
– ให้การศึกษา อบรม แนะนำสายอาชีพผ่านระบบ Online – ศูนย์วิจัย Lifelong Learning -เพิ่มความเป็นมืออาชีพของผู้สอนในด้านการ ให้การศึกษา การฝึกอบรมและแนะแนวอาชีพ |
3. การพัฒนาระบบ CETในการสร้างโอกาสการเรียนรู้หลากหลายอย่างมีคุณภาพ |
– การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี่ – iNLab สำหรับการสร้างงานนวัตกรรมใน CET – เพิ่มโครงสร้างการเรียนรู้ในสถานที่ทำงาน |
2.Applied Study in Polyechnic and ITE Review (ASPIRE) เป็นนโยบายอยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการที่สร้างความพร้อมของนักศึกษาสายอาชีพ Polytechnicและ ITE ให้มีความรู้ความชำนาญที่ตอบสนองเศรษฐกิจในโดยคณะกรรมการASPIRE ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างโอกาสความก้าวหน้าให้กับนักศึกษาสายอาชีพโดยให้อุตสาหกรรมต่างๆให้โอกาสนักศึกษาสายอาชีพในการฝึกงานให้ความรู้ แนะแนวอาชีพ งานวิจัย งานวัตกรรมและกิจกรรมอื่นๆที่สนับสนุนการเรียนการสอน รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างรากฐานบุคคลากรไม่ว่าจะเป็นการเรียนสายสามัญหรือสายอาชีพ
3.โครงการยกระดับฝีมือแรงงาน(Skills Upgrading)The Singapore Workforce Skills Qualifications (WSQ) เป็นระบบการรับรองความสามารถบุคคลแห่งชาติที่บริหารจัดการโดย Singapore Workforce Development Agency (WDA) โดยให้การฝึกอบรม พัฒนาฝีมือ ประเมินผล เพื่อสนับสนุนกำลังแรงงานชาวสิงคโปร์ให้มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดย WSQ สร้างให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความสามารถพื้นฐานที่จะทำงานได้ทุกสาขาอาชีพ มีความสามารถเฉพาะทางอาชีพหรืออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง
ตัวอย่างโครงสร้างการอบรมพื้นฐาน – Employability Skills (สร้างความรู้พื้นฐานเพื่อการจ้างงาน)
Business Management (การบริหารจัดการธุรกิจ)
ตัวอย่างโครงสร้างการอบรมเฉพาะอาชีพและอุตสาหกรรม – ธุกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) การดูแลผู้ป่วยและแนะนำด้านสุขภาพ ( Healthcare Support) ธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัย (Security)
4.โครงการWorkfare เป็นโครงการช่วยเหลือของรัฐที่ช่วยลูกจ้างชาวสิงคโปร์ที่มีรายได้ไม่เกิน 1,900 เหรียญสิงคโปร์ต่อเดือนรวมถึงคุณสมบัติอื่นๆตามเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด โดยกระตุ้นให้ชาวสิงคโปร์ยกระดับฝีมือโดยผ่านระบบเงินสนับสนุนและเงินออมหลังเกษียณอายุ ประกอบด้วย Workfare Income Supplement scheme (WIS) และ Workfare Training Support scheme (WTS)
Workfare Income Supplement scheme (WIS) เป็นการช่วยเหลือชาวสิงคโปร์ผ่านระบบเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับผู้มีงานทำโดยให้ทั้งเงินสดและเงินกองทุนสะสมเพื่อเป็นเงินออมหลังเกษียณอายุ
Workfare Training Support scheme (WTS) เป็นการเติมเต็ม WIS ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นโดยส่งเสริมให้คนงานชาวสิงคโปร์ที่เข้าอบรมเสริมทักษะ WTS ช่วยสนับสนุนการจ้างงานและเพิ่มรายได้ โดยให้เงินสนับสนุนทั้งลูกจ้างและนายจ้างร้อยละ 95 และหากลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมเต็มหลักสูตรเกณฑ์กำหนดก็จะได้รับเงินรางวัล 400 เหรียญสิงคโปร์ต่อปี
5.โครงการWorkproเป็นโครงการเงินช่วยเหลือของรัฐสำหรับนายจ้างและลูกจ้างที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มกำลังคนชาวท้องถิ่นในตลาดแรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาสถานที่ทำงานและเสริมสร้างให้ชาวสิงคโปร์ในแกนนำของกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ (MOM) และ Singapore Workforce Development Agency (WDA) ภายใต้ความเห็นชอบของไตรภาคี โดยโครงการนี้มีอายุ 3 ปี และจะสิ้นสุดลงในปี 2559
ตัวอย่างความช่วยเหลือสำหรับนายจ้าง
– Job Redesign Grant เงินสนับสนุนไม่เกิน 300,000 เหรียญสิงคโปร์ต่อบริษัท ที่ออกแบบสถานที่ทำงานเพื่อการจ้างงานชาวท้องถิ่นที่อยู่ในวัยทำงานหรือดึงดูดชาวสิงคโปร์ให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน เช่น การจัดซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องมือระบบอัตโนมัติ หรือ โครงการการเพิ่มผลิตภาพการผลิต
– On-the-Job Training Allowance เงินสนับสนุนไม่เกิน 50,000 เหรียญสิงคโปร์ต่อบริษัท ที่จ้างและให้การฝึกอบรมชาวสิงคโปร์ที่กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่โดยจ่ายเท่ากับค่าจ้างของลูกจ้าง 1 เดือนสูงสุดไม่เกิน 2,000 เหรียญสิงคโปร์ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นลูกจ้างประจำและได้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเวลาไม่ต่ำกว่า 2 เดือน
ตัวอย่างความช่วยเหลือสำหรับผู้หางาน
– Job Preparation Support เพื่อสร้างความพร้อมและเพิ่มโอกาสที่จะได้รับการจ้างงาน ผู้หางานสามารถเข้าอบรมเชิงปฏิบัติ (Job Preparation Workshop)ที่ได้รับการดัดแปลงให้เหมาะสมเพื่อให้ผู้หางานมีความรู้ความสามารถที่จะกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ตัวอย่างความช่วยเหลือสำหรับลูกจ้าง
– ลูกจ้างใหม่ที่ได้รับการจ้างานจากนายจ้างในโปรแกม Workpro และจัดว่าเป็นผู้มีรายได้ต่ำจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเดินทาง 200 เหรียญสิงคโปร์
– ลูกจ้างใหม่ที่เพิ่งกลับเข้ามาในตลาดแรงงานจากนายจ้างในโปรแกมWorkpro และยังคงทำงานอยู่จะได้รับเงินโบนัสพิเศษไม่เกิน 1,200 เหรียญสิงคโปร์ในระยะเวลา 12 เดือน
6.โครงการSkills Futureเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาความสามารถชาวสิงคโปร์ให้ถึงจุดสูงสุดตลอดชีวิตโดยไม่คำนึงถึงจุดเริ่มต้น โดยการส่งเสริมทักษะบุคคลกรเพื่อเป็นปัจจัยในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ทันสมัย โดยมี Tripartite SkillsFuture Council นำโดยรองนายกรัฐมนตรี Tharman Shanmugaratnam ประสานงานและสนับสนุนให้นโยบายประสบผลสำเร็จ โดยมีหลักการ 4 ประเด็น
1) การให้ข้อมูลด้านการศึกษา การฝึกงานและอาชีพ
2) การพัฒนาโดยรวมทั้งการระบบการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างมีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
3) ส่งเสริมให้นายจ้างพัฒนาอาชีพผ่านความชำนาญ ทักษะและการเรียนรู้
4) สนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตัวอย่างโปรแกมที่สนับสนุนระดับต่างๆ
ก) นักเรียน
– Education and Career Guidance (ECG) แนะแนวการศึกษาต่อหลังระดับมัธยมศึกษา การให้ข้อมูลทางเลือกการศึกษา อาชีพ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย
– Enhanced Internships เป็นองค์ประกอบหนึ่งของหลักสูตรในระดับPolytechnic และและ ITE โปรแกรมดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมการทำงานจริงและช่วยให้สามารถเรียนรู้ผ่านการทำงานที่ได้รับมอบหมาย มีประสบการณ์ทางทักษะและเทคนิค เรียนรู้การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นเครื่องช่วยในการเลือกสายอาชีพให้เป็นไปตามความเป็นจริง
– Individual Learning Portfolio (ILP) ILP คือการศึกษา การฝึกอบรมและแนะแนวอาชีพอย่างครบวงจรผ่านระบบ online ที่จะช่วยชาวสิงคโปร์ในการวางแผนการศึกษาและการอบรมเพื่อวางแผนอาชีพในอนาคต ในขณะเดียวกันสามารถค้นหาความสนใจของตัวเอง ความสามารถ แรงบันดาลใจ แนวทางการเรียนรู้หลายๆอย่างก่อนที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ILP ยังช่วยหางานในตำแหน่งงานที่เหมาะสมและ สำหรับคนทำงาน ILP ทำหน้าที่แสดงชี้ให้เห็นช่องว่างทักษะในการทำงาน ILP จะเริ่มใช้ในปี 2560
– Young Talent Programme (YTP )ให้โอกาสนักศึกษาไปฝึกงานในต่างประเทศ หรือทำงานพร้อมเรียนหนังสือเพื่อสร้างความเตรียมพร้อมในการทำงานในระดับนานาชาติ
ข) ลูกจ้าง (วัยเริ่มทำงาน)
– Individual Learning Portfolio (ILP) การให้คำแนะนำเพื่อให้ชาวสิงคโปร์วางแผนการศึกษาและฝึกอาชีพเพื่อการทำงาน ช่วยค้นหาแรงบันดาลใจในอาชีพและสำรวจเส้นทางการศึกษาต่าง ๆ ก่อนที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน อีกทั้งยังใช้ILP ค้นหาตำแหน่งงานที่เหมาะสม และสำหรับคนทำงานจะช่วยแนะนำช่องว่างทักษะที่เกี่ยวข้องในแรงงานที่ต้องพัฒนาเพื่อคงไว้ซึ่งการมีงานทำ โดย ILP จะเริ่มใช้ในปี 2560
– P-Max เป็นโครงการที่จะสร้าง ผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้ชำนาญงานให้เข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อย (SME) ภายในเดือนธันวาคม 2560 โดย WDA จะช่วยผู้หางานให้ได้ทำงานตามตำแหน่งงานที่เหมาะสมในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย อีกทั้ง P-Max ยังช่วยผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้ชำนาญงานเพิ่มทักษะ เช่น จริยธรรมในสถานที่ทำงาน และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้มี สมรถถภาพที่จะทำงานในสภาพแวดล้อมแบบ SME
– Skills Future Credit เป็นโครงการส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์เป็นเจ้าของการพัฒนาทักษะของตนเองในระยะยาวหรือตลอดชีวิต เป็นโครงการสำหรับชาวสิงคโปร์ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปจะได้รับเครดิตคิดเป็นเงิน 500 เหรียญสิงคโปร์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 โดยไม่มีกำหนดวันหมดอายุและรัฐบาลจะเพิ่มเครดิตให้เป็นระยะๆรวมทั้งยังสามารถสะสมเครดิตนี้ได้
การใช้ SkillsFuture Credit สามารถนำไปใช้เพิ่มเติมจากหลักสูตรต่างๆของรัฐที่ได้ให้เงินช่วยเหลือสมทบอยู่แล้ว โดยมีที่มาของหลักสูตรต่างดังนี้
1) หลักสูตรที่ให้เงินช่วยเหลือหรืออนุมัติจาก Singapore Workforce Development Agency – WDA
2) หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
3) หลักสูตรที่รัฐให้การสนับสนุน
4) หลักสูตรที่จัดโดย The People’s Association หรือ Infocomm Development Authority of Singapore’s Silver Infocomm Junctions
ชาวสิงคโปร์เมื่อมีอายุครบ 25 ปี จะได้รับจดหมายจากรัฐบาลแจ้งการเปิดให้ใช้บัญชี SkillsFuture Credit โดยมีหนังสือคู่มือแนะนำการใช้ รวมถึงหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติ การใช้เครดิต ตรวจสอบเครดิตคงเหลือ และรายการต่างๆ จะผ่านระบบอีเล็กโทรนิคwww.skillsfuture.sg/credit
– SkillsFuture Study Award เป็นรางวัลสำหรับคนทำงานที่มีการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถในเชิงลึกให้ทันกับความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในอนาคตและเท่าเทียมกับกลุ่มอาชีพเดียวกันอยู่เสมอ นับแต่เดือนตุลาคม 2558 เงินรางวัล 5,000 เหรียญสิงคโปร์จะมอบให้จำนวน 500 รางวัล ไม่เกิน 2,000 รางวัลต่อปี
ค) ลูกจ้าง (วัยทำงาน) โดยพื้นฐานก็คล้ายกับลูกจ้าง (วัยเริ่มทำงาน)
– Skills-Based Modular Courses หลักสูตรระยะสั้นมุ่งเน้นถึงความหลากหลายที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นเพื่อให้ชาวสิงคโปร์มีความชำนาญในด้านต่างๆมากขึ้น
– SkillsFuture Leadership Development Initiative พัฒนาความร่วมมือกันระหว่างบริษัทในการออกแบบและเพิ่มโอกาสในการพัฒนาความสามารถให้เต็มศักยภาพ
– SkillsFuture Fellowships การให้รางวัลกับชาวสิงคโปร์ที่มีความสามารถและประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในทักษะเพื่อเป็นการสนับสนุนให้บุคคลเหล่านี้ได้แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจึงมีทุนรางวัลเงินสด 10,000 สิงคโปร์ ให้จำนวน 100 คนต่อปี ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ปี 2559
– SkillsFuture Mid-Career Enhanced เป็นการอุดหนุนและส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์พัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงานซึ่งลูกจ้างวัยทำงานจะมีความกดดันในเรื่องการพัฒนาทักษะและยกระดับความสามารถ รัฐบาลจึงได้จัดโครงการนี้เพื่อส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์ช่วงวัยทำงานให้ปรับปรุงความสามารถอย่างต่อเนื่อง เป็นโครงการสำหรับชาวสิงคโปร์ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินช่วยเหลือสำหรับหลักสูตรภายใต้ WDA โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ตามตารางดังนี้
ประเภทหลักสูตร |
ระดับไร้ฝีมือ/กึ่งฝีมือ |
ระดับผู้จัดการ/ผู้บริหาร/ผู้ชำนาญการ |
1. หลักสูตรของศูนย์ที่ได้รับอนุมัติจาก WDA |
สูงสุดร้อยละ 90 ของค่าเรียน |
|
2. หลักสูตรรับรองการพัฒนาฝีมือ |
สูงสุดร้อยละ 90 ของค่าเรียน แต่ไม่เกิน 25 เหรียญต่อชั่วโมง |
สูงสุดร้อยละ 90 ของค่าเรียน แต่ไม่เกิน 50 เหรียญต่อชั่วโมง |
และร้อยละ 90 สำหรับโปรแกมภายใต้กระทรวงศึกษาธิการทั้งระบบการศึกษาแบบเต็มเวลาและแบบ Part-time ตามสถานศึกษาดังต่อไปนี้ (เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558)
- NUS NTU SMU SUTD SIT และ SIM University (UniSIM)
- Polytechnics
- Institute of Technical Education
- LASALLE College of the Arts and Nanyang Academy of Fine Arts
1) โปรแกมที่สนับสนุนโดยกระทรวงศึกษาธิการ – สำหรับผู้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรที่เริ่มตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2558 สถาบันการศึกษาจะเป็นผู้คำนวนเงินช่วยเหลือให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติภายใต้ SkillsFuture Mid-Career Enhanced โดยมัตโนมัติซึ่งคาดว่าจะลดลงร้อยละ 30-60
2) หลักสูตรที่ได้รับการสนับสนุนจาก WDA – สำหรับผู้ที่ประสงค์เข้ารับการอบรมหลักสูตรที่เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 สามารถลงทะเบียนโดยตรงกับศูนย์ที่ได้รับอนุมัติจาก WDA หรือ สถาบันฝึกอบรมที่สนับสนุนหลักสูตรรับรองการพัฒนาฝีมือโดยWDA โดยผู้สมัครชำระค่าอบรมหลังหักเงินสมทบ
ง) นายจ้าง
– P-Max เป็นโปรแกรมที่ช่วยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อย (SME) ในเรื่องการจ้างงานระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้ชำนาญงาน (PMEs) ผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการฝึกอบรม เช่นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีการทำงานกับ PMEs ที่เพิ่งได้รับการว่าจ้าง ผู้ประกอบการ SMEs จะได้รับเงินช่วยเหลือของ 5,000 สิงคโปร์หากร่วมโครงการจนเสร็จสมบูรณ์และจ้างงาน PMEs ที่เพิ่งได้รับการว่าอย่างต่ำเป็นเวลาหกเดือน
– SkillsFuture Earn and Learn Programme เป็นโปรแกรมการศึกษาและทำงานสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจาก Polytechnic และสถาบันการศึกษาทางเทคนิค (ITE) ให้ได้เริ่มทำงานตามที่เรียนมา เป็นการสร้างโอกาสในการเพิ่มทักษะและความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือ 15,000 เหรียญสิงคโปร์สำหรับค่าใช้จ่ายการพัฒนาและสนับสนุนโครงการ
– SkillsFuture Mentors จะมีศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างๆมาให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเรื่องทักษะความคิดริเริ่ม
—————————————————————————
จัดทำโดยสนร.สิงคโปร์
30 พฤศจิกายน 2558