การเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
Amendments to the Employment Act
ที่มา : รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (Employment Act) โดยมีการพิจารณาร่วมกันหลายฝ่ายทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง รัฐบาล และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนซึ่งรัฐบาลได้สำรวจระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง ตุลาคม 2556
จุดประสงค์ : เพื่อความชัดเจนการคำนวณค่าจ้าง เงื่อนไขการจ้างงานและสิทธิประโยชน์ รวมทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งและลดข้อพิพาทในที่ทำงาน
การเปลี่ยนแปลง : นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 นายจ้างทุกรายจะต้องมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานดังต่อไปนี้ให้กับลูกจ้างที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (Employment Act)
– เงื่อนไขการจ้างงานที่สำคัญ (Key employment terms (KETs)
– ใบแจ้งเงินเดือน (Itemised payslips)
– ประวัติการจ้างงาน (Keeping employment records)
กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ได้ร่วมมือกับไตรภาคีเพื่อช่วยเหลือนายจ้างในระยะเริ่มต้นโดยให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลกับนายจ้างที่ SME Centre ที่ตั้งอยู่ตามสถานที่ต่างๆอีกทั้งยังมีแบบฟอร์มเงื่อนไขการจ้างงานที่สำคัญ ใบแจ้งเงินเดือน ที่ใช้ลายมือเขียนได้และฟรีโปรแกมคอมพิวเตอร์ หากมีการละเมิดเงื่อนไขการจ้างงานที่สำคัญ ใบแจ้งเงินเดือน ประวัติการจ้างงาน และการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องกับเจ้าหน้าที่โดยไม่เจตนาที่จะหลอกลวงแล้วก็จะมีความผิดในทางแพ่งไม่ใช่ทางอาญา
1.เงื่อนไขการจ้างงานที่สำคัญ
สัญญาจ้างจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่านายจ้างตกลงที่จะจ้างงานอีกบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่าลูกจ้างและลูกจ้างตกลงที่จะทำงานให้นายจ้าง โดยในสัญญาจ้างยื่นข้อตกลงและเงื่อนไขการจ้างงาน สัญญาจะต้องมีข้อตกลงที่จำเป็น เช่น ชั่วโมงการทำงาน ขอบเขตการทำงาน สัญญาจ้างสามารถทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตกลงด้วยวาจาหรือโดยปริยาย
การเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (Employment Act) ฉบับใหม่กำหนดให้นายจ้างจะต้องมีเงื่อนไขการจ้างงานที่สำคัญเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลูกจ้างที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (Employment Act) และทำงานกับนายจ้างตั้งแต่ 14 วันขึ้นไป โดยให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559
เงื่อนไขที่สำคัญประกอบด้วย
เลขที่ |
รายละเอียด |
1 |
ชื่อนายจ้าง |
2 |
ชื่อลูกจ้าง |
3. |
ตำแหน่ง / หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก |
4. |
วันเริ่มทำงาน |
5. |
ระยะเวลาการจ้างงาน |
6. |
การจัดการทำงาน – ชั่วโมงการทำงานต่อวัน – จำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์ – วันหยุดประจำสัปดาห์ |
7. |
ระยะเวลาที่จ่ายค่าจ้าง |
8. |
ค่าจ้าง เช่น ระบุค่าจ้างที่ต่อวัน ต่อชั่วโมง หรือต่อชิ้นงาน เป็นต้น |
9. |
เงินพิเศษที่จ่ายให้เป็นประจำ |
10. |
เงินหักประจำ |
11. |
ระยะเวลาที่จ่ายค่าล่วงเวลา |
12. |
อัตราค่าล่วงเวลา |
13. |
เงินอื่นๆ เช่น เงินโบนัส เงินจูงใจ |
14. |
สิทธิการลา เช่น ลาพักร้อน ลาป่วย (ทั้งผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก) ลาคลอด เป็นต้น |
15. |
สิทธิประโยชน์เรื่อง ประกันสุขภาพ ค่ารักษาพยาบาลสุขภาพทั่วไป และสุขภาพฟัน |
16. |
ระยะเวลาการทดลองงาน |
17. |
ระยะเวลาการแจ้งล่วงหน้ากรณียกเลิกสัญญาจ้าง |
หมายเหตุ
1) สัญญาจ้างจะมีผลก็ต่อเมื่อลูกจ้างมาทำงานตามกำหนดวันเริ่มทำงาน หากลูกจ้างไม่มาทำงานตามที่ตกลงไว้ ลูกจ้างหรือนายจ้างจะไม่ได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (Employment Act) เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างต้องเข้าระบบการฟ้องร้องทางแพ่งและต้องใช้ทนาย
2) การบรรจุเป็นลูกจ้างขึ้นกับสัญญาจ้างเพราะไม่อยู่ในข้อกำหนดพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(Employment Act)
3) การยกเลิกสัญญาจ้างสามารถทำได้ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง
4) ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างงาน (Contract OF Service) และ สัญญาจ้างทำของ (Contract for Service) ที่สำคัญมีดังนี้
สัญญาจ้างงาน (Contract OF Service) |
สัญญาจ้างทำของ (Contract for Service) |
1. มีความสัมพันธ์กันในฐานะลูกจ้างและนายจ้าง |
1. เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับจ้างกับผู้ว่าจ้าง |
2. ลูกจ้างทำงานให้นายจ้าง โดยอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายจ้าง |
2. ผู้รับจ้างรับผิดชอบงานที่ผู้ว่าจ้างมอบหมายให้ทำให้สำเร็จ ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชา |
3. ลูกจ้างบางรายจะได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (Employment Act) |
3.ไม่ได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (Employment Act) |
4. เงื่อนไขการจ้างงานรวมถึง ชั่วโมงการทำงาน สิทธิการลา และอื่นๆ |
4. ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฏหมาย |
อย่างไรก็ตามไม่มีข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะแยกความแตกต่างระหว่างสัญญาการจ้างงานจากสัญญาจ้างทำของอย่างชัดเจนได้ แต่ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาสัญญาจ้างงานจะรวมถึง อำนาจการตัดสินใจในการจ้างงาน การยกเลิกสัญญาจ้าง การจ่ายค่าจ้าง และสิทธิการเป็นเจ้าของ เป็นต้น
- ใบแจ้งเงินเดือน
นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 นายจ้างทุกรายจะต้องมีใบแจ้งเงินเดือนให้กับลูกจ้างที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (Employment Act) ในรูปแบบสำเนาเอกสารหรือผ่านระบบอีเล็คโทรนิค รวมถึงการเขียนด้วยลายมืออย่างน้อยเดือนละครั้งโดยให้พร้อมกับค่าจ้าง หากไม่สามารถให้พร้อมกันได้ก็จะต้องให้ภายในระยะเวลา 3 วันทำงานหลังจากจ่ายค่าจ้าง หากเป็นกรณียกเลิกสัญญาจ้างจะต้องให้ใบแจ้งเงินเดือนพร้อมกับค่าจ้าง โดยใบแจ้งเงินเดือนจะต้องระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้
เลขที่ |
รายละเอียด |
1. |
ชื่อนายจ้าง |
2. |
ชื่อลูกจ้าง |
3. |
วันจ่ายค่าจ้าง |
4. |
ค่าจ้าง กรณีเป็นรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานต่อชิ้นจะต้องกำหนดรายละเอียด ยกตังอย่างเช่น – ค่าจ้างต่อชัวโมง – จำนวนชั่วโมงทำงาน หรือจำนวนวันทำงาน หรือ จำนวนชิ้นงาน |
5. |
วันเริ่ม-วันสิ้นสุดของค่าจ้าง
|
6. |
เงินพิเศษที่จ่ายช่วงเวลาของค่าจ้าง – เงินพิเศษที่จ่ายเป็นประจำ เช่น ค่ารถ เป็นต้น – เงินพิเศษเฉพาะ เช่น เงินค่าเครื่องแบบ |
7. |
เงินอื่นๆ เช่น – เงินโบนัส – เงินที่จ่ายกรณีทำงานวันหยุดประจำสัปดาห์ – เงินที่จ่ายกรณีทำงานวันหยุดราชการ |
8 |
เงินหักจากค่าจ้าง – เงินหักประจำ เช่น เงินหักเข้ากองทุนสะสมเลี้ยงชีพ – เงินหักพิเศษ เช่น ลาแบบไม่จ่ายค่าจ้าง ขาดงาน |
9. |
จำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลา |
10. |
เงินค่าล่วงเวลา |
11. |
วันเริ่ม-วันสิ้นสุดของค่าล่วงเวลา (กรณีที่แตกต่างจากข้อ 5) |
12. |
ค่าจ้างสุทธิ |
นายจ้างจะต้องเก็บใบแจ้งเงินเดือนตามระยะเวลาดังต่อไปนี
– กรณีลูกจ้างปัจจุบัน : 2 ปีสุดท้าย
– กรณีลูกจ้างที่ไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง : 2 ปีสุดท้าย เป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่พ้นสภาพความเป็นลูกจ้าง
- ประวัติการจ้างงาน
นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 นายจ้างจะต้องเก็บประวัติการจ้างของลูกจ้างทุกคนที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (Employment Act) รวมถึงประวัติค่าจ้างในรูปแบบเอกสารหรือใช้ระบบ อีเล็คโทรนิค โดยมีรายละเอียดดังนี้
– ประวัติการจ้าง
เลขที่ |
รายละเอียด |
1. |
ที่อยู่ |
2. |
– เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน – หากเป็นลูกจ้างต่างชาติ จะเป็นเลขที่ใบอนุญาตการทำงาน |
3. |
วัน เดือน ปี เกิด |
4. |
เพศ |
5. |
วันเริ่มทำงาน |
6. |
วันสุดท้ายของการทำงาน |
7. |
ชั่วโมงการทำงาน ( รวมเวลาพัก) |
8. |
รายละเอียดอื่นๆ วันที่ลาพัก วันหยุดราชการ |
– ประวัติค่าจ้าง
ใช้หลักเกณฑ์การเก็บใบแจ้งเงินเดือน
– นายจ้างจะต้องเก็บประวัติการจ้างงานตามระยะเวลาดังต่อไปนี้
– กรณีลูกจ้างปัจจุบัน : 2 ปีสุดท้าย
– กรณีลูกจ้างที่ไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง : 2 ปีสุดท้าย เป็นเวลา 1 ปี นับจากวันพ้นสภาพความเป็นลูกจ้าง
สนร. สิงคโปร์
กันยายน 2559