Skip to main content

หน้าหลัก

บทความเรื่อง “การจ้างแรงงานสูงอายุของประเทศสิงคโปร์”

การจ้างแรงงานสูงอายุของประเทศสิงคโปร์

           ประเทศสิงคโปร์ปัจจุบันใช้พระราชบัญญัติเกษียณอายุและการจ้างงานใหม่ (Retirement and Re-Employment ActRRA) โดยกำหนดเกษียณอายุลูกจ้างต้องไม่ต่ำกว่า 62 ปี ลูกจ้างที่จะได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญัติเกษียณอายุและการจ้างงานใหม่จะต้อง
                – เป็นชาวสิงคโปร์หรือผู้มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศสิงคโปร์ (Permanent Residents)
                – ทำงานกับบริษัทนายจ้างก่อนมีอายุ 55 ปี

           เมื่อลูกจ้างมีอายุครบ 62 ปี นายจ้างต้องเสนอการจ้างงานใหม่ (Re-Employment) ให้กับลูกจ้าง โดยให้ลูกจ้างทำงานต่อจนลูกจ้างมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ซึ่งลูกจ้างต้องมีคุณสมบัติดังนี้
               
1. เป็นชาวสิงคโปร์หรือผู้มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศสิงคโปร์ (Permanent Residents)
               2. ทำงานกับนายจ้างอย่างต่ำ 3 ปี ก่อนอายุครบ 62 ปี
               
3. นายจ้างประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นที่น่าพอใจ
               
4. ผ่านการตรวจสุขภาพว่าสามารถทำงานต่อได้

           นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 นายจ้างต้องเสนอการจ้างงานใหม่ให้กับลูกจ้างและขยายระยะเวลาให้ลูกจ้างทำงานต่อจาก 65 ปีเป็นอายุ 67 ปีบริบูรณ์ โดยลูกจ้างต้องมีคุณสมบัติดังนี้
               
1. เป็นชาวสิงคโปร์หรือผู้มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศสิงคโปร์ (Permanent Residents)
                2. ทำงานกับนายจ้างอย่างต่ำ 3 ปี ก่อนอายุครบ 62 ปี
               
3. นายจ้างประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นที่น่าพอใจ
                4. ผ่านการตรวจสุขภาพว่าสามารถทำงานต่อได้
               
5. เกิดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2495 (หากลูกจ้างที่เกิดระหว่าง 1 มกราคม 2493 ถึง มิถุนายน 2495 นายจ้างจะเสนอการจ้างงานใหม่ให้กับลูกจ้างจนลูกจ้างมีอายุครบ 65 ปี)

           สัญญาการจ้างงานใหม่หลังเกษียณอายุต้องมีระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่ง 1 ปี และสามารถต่อสัญญาจ้างใหม่ได้ทุกๆ ปีจนลูกจ้างอายุครบ 65 ปี โดยตกลงค่าจ้างใหม่ตามหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบใหม่ ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์แนะนำให้ใช้แนวทางของไตรภาคีในการเจรจา (Tripartite Guidelines on Re-employment of Older Employee) 

           กรณีที่ลูกจ้างมีคุณสมบัติสำหรับการจ้างงานใหม่แต่นายจ้างไม่มีตำแหน่งงานที่เหมาะสม นายจ้างอาจให้เงินช่วยเหลือลูกจ้างระหว่างที่ลูกจ้างหางานใหม่ (Employment Assistance Payment- EAP) โดยจ่ายเป็นเงินจำนวนเท่ากับเงินค่าจ้าง 3 เดือนทั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 4,500 เหรียญสิงคโปร์แต่ไม่เกิน 10,000 เหรียญสิงคโปร์

           หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหลังจากที่ลูกจ้างได้รับการจ้างงานใหม่แล้วอย่างน้อย 18 เดือน นายจ้างสามารถพิจารณาที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือน้อยลงได้เท่ากับจำนวนเงินค่าจ้าง 2 เดือนทั้งนี้ไม่ควรต่ำกว่า 3,000 เหรียญสิงคโปร์แต่ไม่เกิน 7,000 เหรียญสิงคโปร์          

           การให้ความช่วยเหลือของรัฐในเรื่องการจ้างงานหลังเกษียณอายุ

           1. เงินสนับสนุนพิเศษเพื่อการจ้างงาน (Special Employment CreditSEC) เป็นนโยบายของรัฐบาลตั้งแต่ปี 2555 เพื่อเป็นการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุซึ่งจะหมดอายุในปี 2562 โดยรัฐบาลช่วยจ่ายเงินสมทบค่าจ้างให้กับนายจ้างที่จ้างงานชาวสิงคโปร์ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่เกิน 4,000 เหรียญสิงคโปร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

อายุลูกจ้าง

SEC ระหว่างปี 2560 – 2562

55 ถึง 59

สูงสุดร้อยละ 3 ของค่าจ้างรายเดือน

60 ถึง 64

สูงสุดร้อยละ 5 ของค่าจ้างรายเดือน

65 ปีขึ้นไป

สูงสุดร้อยละ 8 ของค่าจ้างรายเดือน

+ ร้อยละ 3 จนกระทั่งการขยายอายุการจ้างงานใหม่ได้ถูกนำมาใช้

           ส่วนนายจ้างที่จ้างลูกจ้างพิการ รัฐบาลจ่ายเงินสมทบค่าจ้างให้ร้อยละ 16 ของค่าจ้างต่อเดือนแต่สูงสุดไม่เกิน 240 เหรียญสิงคโปร์

           กระทรวงแรงงานสิงคโปร์รายงานว่าในปี 2557 ร้อยละ 98 ของลูกจ้างที่ได้รับการจ้างงานใหม่ยังคงได้รับค่าจ้างเท่าเดิมและในจำนวนนั้นมีร้อยละ 10 ได้รับค่าจ้างสูงขึ้น โดยมีจำนวนลูกจ้างสูงอายุที่อยู่ในตลาดแรงงานเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ดังนี้
              
อายุ 60-64 ปี      จำนวน 149,200 คน
              
อายุ 65-69 ปี      จำนวน   74,900 คน
              
อายุ 70 ปี ขึ้นไป  จำนวน    40,400 คน

           รายได้เฉลี่ยของลูกจ้างสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปสูงขึ้นจาก 1,160 เหรียญสิงคโปร์ในปี 2549 เป็น 2,000 เหรียญสิงคโปร์ในปี 2558

           2. Workfare เป็นโครงการส่งเสริมให้ลูกจ้างสูงอายุเพิ่มทักษะโดยให้เงินสมทบรายได้ เงินสะสมหลังเกษียณอายุและให้เงินช่วยเหลือสำหรับการฝึกอบรม ซึ่งประกอบไปด้วย
                 
2.1 Workfare Income Supplement Scheme – WIS ให้ความช่วยเหลือเป็นเงินสดและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Central Provident Fund – CPF) กับลูกจ้างสูงอายุที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอหรือรับการฝึกอบรมเพื่อยกระดับฝีมือ และกับนายจ้างที่ส่งลูกจ้างสูงอายุเข้ารับการฝึกอบรม
                 2.2  Workfare Training Support (WTS) เป็นโครงการที่ช่วยเติมเต็ม WIS โดยการช่วยเหลือลูกจ้างสูงอายุแต่มีรายได้ต่ำให้ยกระดับฝีมือผ่านการฝึกอบรม ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสการจ้างงานและเพิ่มรายได้ WTS จะให้ความช่วยเหลือ
                         
– เงินอุดหนุนค่าอบรมร้อยละ 95 ให้นายจ้างที่ส่งลูกจ้างเข้ารับการอบรมและลูกจ้างที่สมัครใจเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะให้ตนเอง    
                          – โปรแกรมการฝึกอบรมที่กำหนดเองผ่าน
Workfare – Skill Up โดยเฉพาะลูกจ้างที่ไม่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ลูกจ้างสามารถลงทะเบียนได้ไม่ว่าจะมีงานทำหรือไม่                          
                         
– เงินรางวัล Training Commitment Award จำนวนสูงสุด 400 เหรียญสิงคโปร์สำหรับผู้ที่สำเร็จการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่จำเป็น

           3. Temporary Employment Credit เป็นการช่วยเหลือของรัฐบาลที่ให้กับนายจ้างในการปรับตัวกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นกรณีเพิ่มเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Central Provident Fund – CPF) ส่วนของนายจ้างที่ให้ลูกจ้างผู้สูงอายุที่ร้อยละ 1 และการปรับเพดานเงิน CPF ที่มีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 นายจ้างจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 1 ในปี 2558 และ 2559 จะลดลงร้อยละ 0.5 ในปี 2560

           4. นายจ้างสามารถขอเงินทุนสนับสนุนภายใต้ WorkPro เพื่อปรับปรุงสถานที่ทำงาน สภาพการทำงานให้เหมาะสม โดยนายจ้างสามารถนำเงินทุนสนับสนุนมาใช้ในเรื่อง
                     
– ขยายกำลังแรงงานชาวท้องถิ่น
                     
– ปรับปรุงสถานที่ทำงานให้มีความก้าวหน้าทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพการจ้างงาน (นับตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2559 WorkPro จะขยายการสนับสนุนนายจ้างที่มีการปรับลักษณะการทำงาน การจัดการงานที่เหมาะสมกับลูกจ้างสูงอายุ)
                     
– เสริมสร้างให้ชาวสิงคโปร์เป็นแกนนำในองค์กร

           ทั้งนี้ เงินทุนสนับสนุนจะขึ้นอยู่กับโครงการที่นายจ้างจัดทำ เช่น  Age Management Grant จะได้รับเงินสนับสนุนสูงสุด 20,000 เหรียญสิงคโปร์ Job Redesign Grant สูงสุด 300,000 เหรียญสิงคโปร์ เป็นต้น

           การให้ความช่วยเหลือของรัฐกับผู้สูงอายุชาวสิงคโปร์
          
1. ช่วยค่ารักษาพยาบาลและเงินสมทบกรณีต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน
          
2. สงเคราะห์เงินช่วยเหลือค่าเบี้ยประกันสำหรับ MediShield Life* สูงสุดร้อยละ 50 ให้กับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง
          
3. เพิ่มเงินเข้ากองทุนสะสมสำหรับค่ารักษาพยาบาล (Medisave) จำนวน 100 – 200 เหรียญสิงคโปร์ต่อปี จนถึงปี 2561 สำหรับผู้สูงอายุชาวสิงคโปร์ที่เกิดก่อน 31 ธันวาคม 2502
          
4. ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายประจำวันในรูปแบบต่างๆ เช่น บัตรกำนัล เงินสด (ในกรณีเร่งด่วน) เพิ่มเงินกองทุนสะสมสำหรับค่ารักษาพยาบาล (กรณีมีความจำเป็นในการรักษาพยาบาล) ส่วนลดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโดยสารรถประจำทาง เป็นต้น
          
5. เพิ่มอัตราดอกเบี้ยในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Central Provident Fund) ร้อยละ 1 สำหรับผู้มีอายุ 55 ปีขึ้นไป   
           6. ให้เงินสงเคาะห์ช่วยเหลือกรณีปรับปรุงที่พักอาศัยของรัฐให้เหมาะกับผู้สูงอายุ
          
7. ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจ้างแม่บ้านต่างชาติ (Levy) ที่มาดูแลผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปโดยจ่ายเพียง 60 เหรียญสิงคโปร์ต่อเดือน
          
8. ให้ความช่วยเหลือเป็นเงินสด (ComCare Long Term Assistance/ Public Assistance) สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถทำงานได้เป็นการถาวรโดยมีสาเหตุมาจากอายุ สุขภาพ หรือครอบครัว                           9. Silver Support Scheme โครงการสนับสนุนผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำมาโดยตลอดชีวิตการทำงาน ทำให้ไม่สามารถมีเงินเลี้ยงชีพอย่างเพียงพอหลังเกษียณอายุได้ รัฐบาลให้การช่วยเหลืออัตโนมัติโดยจำนวนเงินช่วยเหลือจะขึ้นกับขนาดของที่พักอาศัย** ที่เป็นจำนวนเงินระหว่าง 300 – 750 เหรียญสิงคโปร์ต่อสามเดือน   

———————————————————————–

* Medishield Life คือการประกันสุขภาพที่บริหารจัดการโดย Central Provident Fund Board (CPF) เป็นการประกันสุขภาพตลอดชีวิตให้ชาวท้องถิ่นรวมถึงผู้ที่มีปัญหาสุขภาพขั้นร้ายแรงอยู่ก่อนแล้วโดยอัตโนมัติ (ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพขั้นร้ายแรงอยู่ก่อนจะต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เป็นระยะเวลา 10

** ที่พักอาศัย หมายถึงขนาดของที่พักอาศัยภายใต้ระเบียบ Housing Development Board


3603
TOP