Skip to main content

หน้าหลัก

โครงสร้างกระทรวงแรงงานสิงคโปร์กับนโยบายการบริหารประเทศ

โครงสร้างกระทรวงแรงงานสิงคโปร์กับนโยบายการบริหารประเทศ

ปัจจุบันรัฐบาลสิงคโปร์จัดทำนโยบายบริหารประเทศตามข้อเสนอแนะคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม ปี2553 ตามวิสัยทัศน์ที่ได้วางไว้ คือ

          – ประชากรที่มีคุณภาพและความชำนาญ ( High-Skilled People)
          – เศรษฐกิจนวัตกรรม (innovative Economy)
          –  การสร้างสิงคโปร์ให้เป็นเมืองของโลกที่แตกต่าง (Distinctive Global City)

กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ Ministry of Manpower (MOM)  มี 15 หน่วยงาน และ 3 หน่วยงานราชการภายนอก (Statutory Board) ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างนโยบายและนำไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ได้ประกาศแผนการดำเนินงานในปี 2559 สรุปดังนี้

  1. ช่วยอุตสาหกกรรมต่างๆเพิ่มการผลิตด้วยจำนวนแรงงานที่น้อยลง(Manpower Lean)
  2. ส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์เป็นแกนนำในองค์กร (Singapore Core)
  3. ให้การสนับสนุนกำลังแรงงาน

หน่วยงานกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบาย

  1. ประเทศสิงคโปร์มีข้อจำกัดเรื่องกำลังแรงงาน ดังนั้นรัฐบาลสิงคโปร์จึงต้องช่วยผู้ประกอบการเพิ่มผลผลิตด้วยจำนวนแรงงานที่น้อยลง (Manpower Lean)โดยประสานกับหน่วยงานภายนอกให้ความช่วยเหลือทั้งนายจ้างและลูกจ้างเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพของลูกจ้างโดยมีSingapore Workforce Development Agency (WDA)เป็นหน่วยงานสนับสนุน ส่วน Work Pass Division  เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ที่ดูแลบริหารการจ้างงานชาวต่างชาติในประเทศสิงคโปร์ ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆในโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการเพิ่มการผลิตด้วยจำนวนแรงงานที่น้อยลง (Manpower Lean) เช่น อนุโลมระบบโควต้า อนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติขณะฝึกชาวท้องถิ่นมาทำงานแทน เป็นต้น โดยมี Foreign Manpower Management Division ทำหน้าที่ดูแลลูกจ้างช่าวต่างชาติและการบังคับใช้นโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างชาติ
  2. ส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์เป็นแกนนำในองค์กร (Singapore Core)
    2.1 โครงการส่งเสริมชาวสิงคโปร์ให้มีงานทำภายใต้โครงการ Adap & Grow เช่น  การช่วยเหลือสนับสนุน ผู้ชำนาญการ ผู้บริหาร ผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญ(PMETS) ที่ว่างงาน โดยโครงการ P-Max จะช่วยอำนวยความสะดวกและประสานงานให้ที่ว่างงานเข้ามาทำงานกับผู้ประกอบการขนาดกลาง/ขนาดย่อม  และโครงการวางแผนการการฝึกอบรมให้คลอบคลุมมากขึ้น ( Professional Conversion Programme-PCP)  Adap & Grow เป็นโครงการที่บริหารจัดการโดย The Singapore Workforce Development Agency (WDA)
    2.2  ช่วยเหลือลูกจ้างที่มีรายได้ต่ำ  โดยให้เงินช่วยเหลือและเงินสนับสนุนการฝึกอบรมภายใต้โครงการ Workfare Income Supplement scheme (WIS) และWorkfare Training Support scheme (WTS) ตามลำดับ Workfare Income Supplement scheme (WIS) บริหารโดยกองทุนเงินสำรองเลี้ยงชีพ(Central Provident Fund Board –CPF)
    2.3 การช่วยเหลือลูกจ้างผู้สูงอายุ เช่น ให้เงินสนันสนุนนายจ้างเพื่อการจ้างงานผู้สูงอายุภายใต้โครงการ Special Employment Credit –SEC ที่บริหารจัดการโดยกองทุนเงินสำรองเลี้ยงชีพ(Central Provident Fund Board –CPF) การแก้ไขพระราชบัญญัติเกษียณอายุและการจ้างงานใหม่ (Retirement and Re-Employment Act)ขยายอายุการจ้างงานใหม่สำหรับลูกจ้างสูงอายุจาก 65 ปี เป็น 67 ปี โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการไตรภาคีเป็นแนวทางปฏิบัติ  
    2.4 ลูกจ้างทุกระดับ ขยายความช่วยเหลือผู้หางานและนายจ้างในการจ้างงานที่ตอบสนองความต้องการทั้งสองฝ่าย การให้ความช่วยเหลือฝึกอบรมเพื่อการจ้างงานในการจ่ายเงินสมทบค่าจ้างและค่าฝึกอบรมเพื่อความก้าวหน้าในการจ้างงานสำหรับแรงงานระดับล่างและระดับกลาง เช่น Place and Train Programme เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน บริหารจัดการโดย The Singapore Workforce Development Agency (WDA)
  1. ให้การสนับสนุนกำลังแรงงาน  เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์เป็นแกนนำในองค์กร (Singapore Core) มีความมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของชาวท้องถิ่น (Fair Consideration Framework) เพิ่มประสิทธิภาพแรงงานทั้งชาวท้องถิ่นและชาวต่างชาติ  ช่วยประสานให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น Singapore Workforce Development Agency (WDA) เป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติการ และ The Labour Relations and Workplaces Division, Ministry of Manpowerมีหน้าที่การตรวจสอบข้อเรียกร้อง และแก้ไขปัญหา

              ส่วนนโยบายการจ้างชาวต่างชาติ รัฐบาลยังคงไว้ที่อัตรา 1 ใน 3 ของกำลังแรงงานทั้งหมด โดยใช้ระบบโควต้า ค่าธรรมเนียมการจ้างแรงงานต่างชาติ คุณสมบัติของลูกจ้างชาวต่างชาติที่กำหนดตามระเบียบใบอนุญาตการทำงานและใช้เป็นปัจจัยในการควบคุม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศโดยมี Work Pass Division เป็นผู้ดำเนินการ และ Foreign Manpower Management Division เป็นผู้บังคับควบคุมดูแล นอกจากนี้รัฐบาลยังส่งเสริมให้แรงงานต่างชาติพัฒนาฝีมืออยู่เสมอๆโดยทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะได้รับประโยชน์จากการยกระดับฝีมือด้วย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่พัฒนาฝีมือแรงงานต่างชาติ เช่น ภาคก่อสร้าง Building and Construction Authority (BCA) ที่อยู่ภายใต้กระทรวงวางแผนและพัฒนาประเทศ ภาคงานเรือและอุตสาหกรรมปิโตเคมีจะเป็นสถาบันเอกชนที่กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ระบุชื่อสถาบันไว้

 ข้อสังเกตุ : 1. Singapore Workforce Development Agency (WDA) และ Central Provident Fund Board (CPF) เป็นหน่วยงานอิสระที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการภายใต้การเห็นชอบของรัฐสภา (Statutory Board) ที่มีกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ (Ministry of Manpower) เป็นหน่วยงานต้นสังกัด

             Singapore Workforce Development Agency (WDA) บริหารงานอิสระปฏิบัติงานด้านการฝึกอบรม ส่งเสริมการจ้างงานให้กับลูกจ้างเพื่อสนองตอบนโยบายกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ มีคณะกรรมการประกอบด้วยประธาน รองประธานและสมาชิกไม่น้อยกว่า 8 คน ไม่เกิน 16 คน ที่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกจะมาจากภาคเอกชนในสาขาต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาลัยชั้นนำ สมาชิกสหภาพแรงงานแห่งชาติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ WDA

            Central Provident Fund Board (CPF) บริหารงานอิสระปฏิบัติงานด้านบริหารเงินกองทุนสะสมเลี้ยงชีพของลูกจ้าง เพื่อสนองตอบนโยบายกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ มีคณะกรรมการประกอบด้วยประธานรองประธานและสมาชิกที่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีภายใต้ความเห็นชอบของประธานาธิบดี คณะกรรมการมาจากไตรภาคี ภาครัฐ (กระทรวงสาธารณะสุขและกระทรวงการคลัง) 2 ตำแหน่ง ตัวแทนนายจ้าง 2 ตำแหน่ง ตัวแทนสหภาพ 2 ตำแหน่ง และอีก 7 ตำแหน่งมาจากตัวแทนภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ เจ้าหน้าที่บริหารชั้นสูงจาก CPF และ ตัวแทนธนาคารแห่งชาติ

  1. Income Security Policy Division (ISPD), Ministry of Manpowerเป็นหน่วยงานที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างในการสนับสนุนพัฒนาชาวท้องถิ่นให้มีรายได้เพิ่ม จึงมีหน้าที่ประสานงานกับCPF กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธาณะสุข กระทรวงพัฒนาสังคม  กระทรวงวางแผนและพัฒนาประเทศ

สนร. สิงคโปร์

1 สิงหาคม 2559


3322
TOP